วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบความรู้ที่4 คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี


                                คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี


               1. มีความเที่ยงตรง ( Accuracy) หมายถึง สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์และปลอดภัย ทั้งนี้การที่จะได้มาซึ่งความเที่ยงตรงของสารสนเทศนั้นจะต้องมีความถูกต้องตั้งแต่การป้อนข้อมูลที่ถูกต้องด้วย เช่น การคำนวณเกรดของวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบถ้าครูผู้สอนบันทึกคะแนนเก็บผิดจะส่งผลให้เกรดผิดไปด้วย ดังนั้นสารสนเทศที่ได้จึงไม่มีความเที่ยงตรงเนื่องจากไม่ถูกต้อง เป็นต้น





               2. ตรงกับความต้องการ (Relevancy)  หมายถึง สารสนเทศที่ได้ จะต้องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตรงความต้องการ เพราะถ้าสารสนเทศมีจำนวนมากแต่ไม่สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้ สารสนเทศนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เช่น ผู้บริหารต้องการรายงานกำไร / ขาดทุน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อต้องการทราบว่าเดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 ได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวอาจใช้ในการบริหารธุรกิจอื่น ๆ ด้วย แต่สารสนเทศที่ได้รับเป็นรายงานสินค้าคงเหลือ รายงานรายจ่าย และรายงานสินค้าที่ขายดี 3 อันดับแรก แต่ผู้บริหารต้องการทราบกำไรขาดทุน ดังนั้นสารสนเทศที่เสนอให้กับผู้บริหารจะมีจำนวนมากเพียงใด ถ้าไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริหารก็ไม่เกิดประโยชน์







                  3.ทันเวลาต่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Timeliness) หมายถึง  สารสนเทศที่สามารถใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนหนึ่งก็คือการที่ได้รับสารสนเทศทันต่อการใช้งาน เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่าช่วงเทสการสงการณต์ ปี่ 2549 สินค้าใดขายดีที่สุด เพื่อที่จะได้นำมาเป็นสารสนเทศในการตัดสินใจหรือวางกลยุทธ์ทางการตลาดว่า ปี 2550 จะจักซื้อสินค้าใดจำนวนเท่าไหร่มาจำหน่ายแต่ถ้าได้รับสารสนเทศวันที่ 30 เมษายน 2550 สารสนเทศนั้นก็จะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากเกินกำหนดเวลาที่จะใช้งาน



วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบความรู้ที่3 ข้อมูล/สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ

                          ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง ที่เกิดจากการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูลดิบ (Raw data) ซึ่งข้อมูลดิบนั้นจะเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลใด ๆ และยังไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลหรือข้อมูลดิบ (Row Data) อาจจะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น
                         สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำข้อมุลที่รวบรวมได้จากการกระทำของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาประมวลผลด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและถูกต้องซึ่งผลลัพธ์นั้นเรียกว่า สารสนเทศ (Information) ยกตัวอย่างเช่น การนำคะแนนเก็บในแต่ละครั้งของวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาประมวลผลด้วยมือหรือประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถทำให้ทราบว่านักศึกษาคนใดได้เกรดเท่าไหร่ เกรดจึงถือได้ว่าเป็นสารสนเทศของการเรียนวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ


               ทั้งนี้สารสนเทศของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลในการหาสารสนเทศอื่นอื่นก็ได้  เช่น  เกรดของวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการคำนวณหาเกรดเฉลี่ยสะสมของเทอมที่เรียน ดังนั้น จึงถือได้ว่า เกรดเป็นข้อมูล และเกรดเฉลี่ยสะสมเป็นสารสนเทศ เป็นต้น
                     
                      

     เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีการสื่้อสาร เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ซึ่งสารสนเทศที่ได้อาจจะอยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวเลข รูปาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น   

      ระบบสารสนเทศ (Information System) 

      ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ใช้ประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการใดๆเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการซึ่งในปัจจุบันธุรกิจหรือองค์การต่างๆส่วนใหญ่ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สารสนเทสที่ถูกต้อง รวดเร็วทันต่อการใช้งาน
                 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการจัดการกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และค้นคืนสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ

        1.  ข้อมูลดิบ (Data)
        2.  บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People)
        3.  กระบวนการทำงาน (Procedures)
        4.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
        5.  ซอฟต์แวร์ (Software)